หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ...

URL: https://fms.rru.ac.th

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร (ไทย) : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนา ชื่อหลักสูตร (อังกฤษ) : Bachelor of Arts Program in Tourism for Development

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนา) ชื่อย่อ (ไทย) : ศศ.บ. (การท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนา) ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Arts (Tourism for Development) ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.A. (Tourism for Development)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต

ปรัชญาของหลักสูตร

 เป็นหลักสูตรที่เน้นการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาที่พึงประสงค์ที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรอบรู้ทางวิชาการและทักษะทางด้านวิชาชีพการท่องเที่ยว ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ เป็นนักพัฒนาการท่องเที่ยวเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนและตอบโจทย์การพัฒนาของประเทศ

สาระสำคัญของหลักสูตร

  1. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถด้านการท่องเที่ยว และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวได้
  2. พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืนของการท่องเที่ยว
  3. พัฒนาผู้เรียนมีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ในด้านการท่องเที่ยวและการบริการ
  4. ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชน ในด้านการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการและงานวิจัย

วัตถุประสงค์หลักสูตร

 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนา มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติครอบคลุมทั้ง 5 ด้านดังนี้
  1. มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการปฏิบัติงานทางด้านการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้ และประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวที่ทันสมัยเป็นฐานในการเป็นนักพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน
  3. มีทักษะ และมีความสามารถด้านการสื่อสาร การค้นคว้า การวิเคราะห์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์
  4. มีสมรรถนะในการทำงานการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาชุมชน สังคม อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
  5. มีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางประกอบอาชีพ

  1. มัคคุเทศก์/ผู้นำเที่ยว
  2. นักพัฒนาการท่องเที่ยว
  3. พนักงานประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว
  4. พนักงานภาคธุรกิจบริการ
  5. พนักงานหน่วยงานของภาครัฐ
  6. ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
  7. งานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและบริการ

There are no views created for this resource yet.

Additional Information

Field Value
Data last updated July 30, 2022
Metadata last updated July 30, 2022
Created July 30, 2022
Format unknown
License Creative Commons Attribution
createdover 2 years ago
ideba69b4f-6534-415a-b8f4-a77a854ca01d
package id36e58362-deb0-4686-a25d-1456ff2ca007
position6
revision id69cf5bb9-e6c7-4ef4-a88f-ba7f45c34d97
stateactive